ตลาดหุ้นโลกไม่สามารถรีบาวด์กลับขึ้นต่อไปได้จากการพุ่งขึ้นในวันอังคาร  ดัชนีหุ้นเอเชียติดตัวแดงอย่างหนักในวันนี้โดยมีหุ้นจีนเป็นผู้นำในการปรับลง Shanghai Composite ปรับลงไป 2% ขณะที่ CSI 300 ลงไป 1.5% การเทขายในเอเชียเกิดขึ้นหลังจากเกิดเซสชันที่ปั่นป่วนในวอลล์สตรีทที่ซึ่ง Dow Jones Industrial Average, S&P 500 และ Nasdaq ต่างร่วงลงไปอย่างหนักในช่วงต้นของเซสชั่นเทรดในวันพุธแต่ก็กลับขึ้นมาปิดเหนือระดับต่ำสุดได้

หากผลประกอบการเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการตัดสินใจของนักลงทุน หุ้นก็น่าจะวิ่งขึ้นแล้วในตอนนี้ 55 บริษัทจากทั้งหมด 504 บริษัทใน S&P 500 ได้ประกาศผลในไตรมาส 3 แล้วโดยที่ 80% ทะลุเป้าของ EPS หากเทรนด์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป การเติบโตของผลประกอบการก็จะเอาชนะที่คาดการณ์ไว้ได้อย่างง่ายดาย 20% อย่างไรก็ตาม หากปัจจัยนี้ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น นี่อาจชี้ให้เห็นว่านักลงทุนเชื่อกันมากขึ้นว่าเรามาถึงจุดสูงสุดของวัฏจักรเศรษฐกิจในรอบปัจจุบันแล้ว

รายงานการประชุมจากการประชุมของ FOMC ในเดือนกันยายนได้ยืนยันความแข็งกร้าวของเฟด รายงานการประชุมยิ่งแข็งกร้าวกว่าที่นักลงทุนคาดการณ์ไว้โดยมีคำแนะนำว่าให้ดันอัตราดอกเบี้ยเข้าสู่พื้นที่จำกัดอย่างเข้มงวด นั่นคือมากกว่าอัตราที่เป็นกลาง  สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้กำหนดนโยบายการเงินกำลังเป็นห่วงเรื่องเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเหนือเป้าหมายเมื่อพิจารณาจากความแข็งแรงของการขยายตัวทางเศรษฐกิจกับอัตราการว่างงานที่ต่ำ 

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐดันสูงขึ้นหลังจากข่าวของ FOMC โดยที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรแบบ 10 ปีกลับขึ้นไปอยู่เหนือ 3.2% ในช่วงเช้าของวันนี้ หากอัตราดอกเบี้ยยังคงปรับตัวสูงขึ้นจากระดับปัจจุบัน นักลงทุนอาจยิ่งลังเลที่จะซื้อหุ้นที่ย่อตัวลง

ข้อมูลทางเศรษฐกิจก็ไม่ช่วยอะไรเลยเมื่อวานนี้เนื่องจากยอดการสร้างบ้านในสหรัฐตกลงไป 5.3% ในเดือนกันยายน การยื่นขอสินเชื่อรายสัปดาห์ก็ร่วงลงไป 7.1% ซึ่งเป็นการปรับลงไปหนักที่สุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปี 2017  ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ดูเหมือนจะยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กิจกรรมการเคหะในสหรัฐก็น่าจะลดลงไปอีก

ดอลลาร์เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์หลักจากการพุ่งขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ดัชนีดอลลาร์วิ่งขึ้นเหนือ 95.7 ในช่วงเช้าวันนี้ซึ่งเป็นการทดสอบระดับสูงสุดในเดือนตุลาคมอีกครั้ง การทะลุขึ้นเหนือ 96.15 อาจนำไปสู่การทดสอบระดับวิกฤติที่ 97 อีกครั้ง

เงินหยวนร่วงไปที่ระดับต่ำสุดในรอบ 21 เดือนหลังจากที่กระทรวงการคลังสหรัฐงดเว้นจากการติดป้ายว่าจีนเป็น 'ผู้ควบคุมสกุลเงิน' จากการที่ดอลลาร์ยังคงขยับสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ก็เริ่มมีคำถามว่าเงินหยวนจะทะลุ 7 หยวนต่อดอลลาร์หรือไม่และเมื่อใด เศรษฐกิจจีนจำเป็นต้องมีสกุลเงินที่อ่อนค่าลงเพื่อชดเชยข้อด้อยของการเติบโตในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ยังต้องพิจารณาถึงผลกระทบต่อการไหลออกหากสกุลเงินยังคงลดค่าลงต่อไป การหาสมดุลให้เจอนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยาก แต่ผมไม่คิดว่าจีนจะป้องกันการทะลุเหนือ 7 หยวนอย่างดุดัน  

ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ: เนื้อหาในบทความนี้ประกอบด้วยความคิดเห็นส่วนตัวและไม่ควรตีความเป็นคำแนะนำส่วนตัว และ/หรือคำแนะนำด้านการลงทุนอื่น ๆ และ/หรือข้อเสนอ และ/หรือคำชักชวนสำหรับการทำธุรกรรมใด ๆ ในตราสารทางการเงิน และ/หรือการรับประกัน และ/หรือการคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต ForexTime (FXTM) พันธมิตร ตัวแทน กรรมการ เจ้าหน้าที่หรือพนักงานของบริษัทจะไม่รับประกันความเที่ยงตรง ความถูกต้อง ความทันเวลาหรือความสมบูรณ์ของข้อมูลใด ๆ หรือข้อมูลที่พร้อมใช้และถือว่าไม่มีความรับผิดต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการลงทุนใด ๆ ที่อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน