แง่ดีที่ว่าการขยับจากทั้งธนาคารกลางของตุรกี (CBRT) และธนาคารกลางรัสเซีย (CBR) ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านน่าจะช่วยกระตุ้นให้นักลงทุนสนใจลงทุนในตลาดเกิดใหม่เบาบางลงเมื่อเริ่มต้นสัปดาห์นี้ สกุลเงินของตลาดเกิดใหม่จำนวนมากย่อตัวลงต่ำเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในช่วงต้นของวันนี้ เนื่องจากความไม่แน่นอนภายนอกต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกทำให้นักลงทุนลังเลที่จะซื้อสกุลเงินของตลาดเกิดใหม่ในระดับปัจจุบัน
เนื่องจากความไม่แน่นอนภายนอกเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เช่น ความตึงเครียดทางการค้า จึงเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อว่าเราได้เข้าสู่จุดเปลี่ยนสำหรับตลาดเกิดใหม่แล้ว เนื่องจากความไม่แน่นอนภายนอกยังคงรุนแรงและจนกว่าจะมีข้อบ่งชี้ที่สอดคล้องกันว่าสิ่งเหล่านี้หายไปจากบรรยากาศในตลาดแล้ว ก็มีโอกาสมากที่นักลงทุนจะใช้วิธีรักษาความปลอดภัยต่อสกุลเงินที่เป็นสินทรัพย์ในตลาดเกิดใหม่
เงินรูปีอินเดียเป็นตัวอย่างสำคัญของสกุลเงินที่ต้องเผชิญแรงกดดันจากความไม่แน่นอนภายนอกครั้งแล้วครั้งเล่า นอกจากนี้เงินรูปียังเป็นสกุลเงินที่มีการขยับโดดเด่นที่สุดในช่วงต้นสัปดาห์ โดยอ่อนค่าลงไปกว่า 1% ในขณะเขียนอยู่นี้ซึ่งขยับเข้าใกล้ระดับต่ำสุดล่าสุดในประวัติศาสตร์เมื่อเทียบกับดอลลาร์ แรงกดดันต่อเงินรูปีมีเพิ่มขึ้นทั้งๆ ที่ทางการมีมาตรการหลายอย่างออกมาเพื่อป้องกันสกุลเงินอ่อนลงมากขึ้น แต่ลักษณะที่คาดเดาไม่ได้ของปัจจัยภายนอกต่างๆ ที่ทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลงต่อตลาดเกิดใหม่ได้ป้องกันเงินรูปีจากช่วงการฟื้นตัว
ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าหนึ่งในปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่ไม่แน่นอนคือข้อความที่คลุมเครือเมื่อพูดถึงสถานะของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน รายงานที่ขัดแย้งกันยังคงเป็นธีมต่อจากช่วงสุดสัปดาห์เมื่อมีข้อมูลบ่งชี้ว่าในด้านหนึ่ง ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ให้ไฟเขียวกับการจ่ายภาษีนำเข้าเพิ่มเติมของจีนขณะที่อีกรายงานหนึ่งกล่าวว่าปักกิ่งกำลังพิจารณาที่จะปฏิเสธข้อเสนอจากวอชิงตันที่จะเจรจาการค้าต่อ
ในท้ายที่สุดสิ่งนี้ได้ชี้ให้นักลงทุนเห็นว่าเราไม่ได้เข้าใกล้ประตู "ทางออก" เลยเมื่อพูดถึงความไม่แน่นอนทางการค้าที่ยืดเยื้อ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่นักลงทุนจะยังคง "ลดแรงเสี่ยงลงทุน" ขณะที่การเทรดในรอบสัปดาห์นี้เริ่มต้นขึ้น
หนึ่งสกุลเงินในตลาดเกิดใหม่ที่สอดคล้องกับความผันผวนตลอดสัปดาห์ที่กำลังจะมาถึงคือเงินแรนด์แอฟริกาใต้ ไม่เพียงแต่เงินแรนด์จะยังคงมีความอ่อนไหวต่อความไม่แน่นอนภายนอกต่างๆ ที่กำลังส่งผลต่อสินทรัพย์ในตลาดเกิดใหม่ แต่ยังมีการคาดการณ์กันเงียบๆ ว่าการประชุมนโยบายการเงินในปลายสัปดาห์นี้อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายอัตราดอกเบี้ยในแอฟริกาใต้
ธนาคารกลางของแอฟริกาใต้ (SARB) ตอนนี้ตกอยู่ในสถานะที่ไม่มีใครอยากเป็นอย่างแท้จริง เงินแรนด์เป็นตัวเต็งสำหรับการมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยภายนอกที่อยู่ห่างจากแอฟริกาใต้ แต่มีข่าวว่าเศรษฐกิจได้เข้าสู่ภาวะถดถอยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2009 ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่า SARB ควรพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ย ปัญหาคือถ้า SARB ลดอัตราดอกเบี้ยในปลายสัปดาห์นี้จะเป็นการทำให้มีความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นสำหรับแอฟริกาใต้
เงินปอนด์อังกฤษเป็นอีกสกุลเงินหนึ่งที่จะได้รับความผันผวนตลอดสัปดาห์ที่จะมาถึงนี้ นางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ จะมีการอภิปรายเกี่ยวกับ Brexit ในหัวข้อสำคัญอีกครั้งตลอดทั้งสัปดาห์และเงินปอนด์ก็ได้แสดงให้เห็นหลายครั้งแล้วในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาว่ายังคงมีความอ่อนไหวต่อเรื่องที่เกี่ยวกับ Brexit หากมีความกังวลว่าอังกฤษกำลังมุ่งหน้าสู่ Brexit แข็ง ก็ไม่น่าแปลกใจหาก GBPUSD จะลดลงต่ำกว่า 1.30 อีกครั้งในสัปดาห์นี้
ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ: เนื้อหาในบทความนี้ประกอบด้วยความคิดเห็นส่วนตัวและไม่ควรตีความเป็นคำแนะนำส่วนตัว และ/หรือคำแนะนำด้านการลงทุนอื่น ๆ และ/หรือข้อเสนอ และ/หรือคำชักชวนสำหรับการทำธุรกรรมใด ๆ ในตราสารทางการเงิน และ/หรือการรับประกัน และ/หรือการคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต ForexTime (FXTM) พันธมิตร ตัวแทน กรรมการ เจ้าหน้าที่หรือพนักงานของบริษัทจะไม่รับประกันความเที่ยงตรง ความถูกต้อง ความทันเวลาหรือความสมบูรณ์ของข้อมูลใด ๆ หรือข้อมูลที่พร้อมใช้และถือว่าไม่มีความรับผิดต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการลงทุนใด ๆ ที่อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน