นักลงทุนต่างรอดูตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ สำหรับเดือนมกราคมกันอย่างใจจดใจจ่อหลังจากที่การเติบโตของค่าจ้างจุดชนวนให้เกิดการเทขายในตลาดหุ้นและพันธบัตรกันอย่างหนักเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านจากความกลัวในเศรษฐกิจที่ร้อนระอุ 

ข้อมูลในวันพุธเป็นการยืนยันว่าเงินเฟ้อในเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกกำลังจะขยายตัวขึ้น ตัวเลขเงินเฟ้อแตะ 2.1% มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 1.9% ยิ่งไปกว่านั้น ดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่รวมส่วนประกอบที่ผันผวนอย่างเช่นอาหารและพลังงาน ปรับขึ้น 0.35% MoM เป็นการเพิ่มขึ้นรายเดือนมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2005 จะคงที่หนึ่งปีที่ 1.8%

ราคาที่สูงขึ้นมักมาพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์มวลรวมเมื่อเศรษฐกิจมีการจ้างงานเต็มอัตรา เพื่อให้น่าตื่นเต้นมากยิ่งขึ้น ดัชนียอดขายปลีกลดลง 0.3% ในเดือนมกราคม นี่น่าจะกลายเป็นสถานการณ์ที่ซับซ้อนสำหรับทั้งนักลงทุนและผู้กำหนดนโยบายการเงินหากเงินเฟ้อสูงขึ้นมาคู่กับการใช้จ่ายที่น้อยลง   

จนถึงตอนนี้ ผมยังเห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสามครั้งในปี 2018 เป็นการประมาณภายใต้สถานการณ์ปกติและ ในความคิดเห็นของผม นี่ได้ผสานรวมเข้าไปในราคาหุ้นหลังจากการเทขายในสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจะทำให้มีนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นอีกและนี่จะกลายเป็นปัญหาสำหรับการประเมินมูลค่าที่ยังสูงเกินไป

ในสภาพดังกล่าว นักลงทุนบางรายอาจเปลี่ยนกลยุทธ์เป็นขายในช่วงวิ่งขึ้นแทนการซื้อในช่วงย่อลง ซึ่งเป็นเช่นนั้นตลอดปีที่ผ่านมา นี่ต้องการการวิ่งขึ้นเพิ่มเติมในอัตราผลตอบแทนพันธบัตร และการทะลุ 3% ของพันธบัตรแบบ 10 ปีน่าจะเป็นตัวฉุดขึ้นไป

การกลับตัวเมื่อวานนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างเซอร์ไพรส์ หุ้นวอลล์สตรีทย่อลงมาทันทีหลังจากการเผยแพร่ข้อมูลและ S&P 500 เปิดต่ำกว่าเดิม 0.5% เพื่อย้อนทางการปรับลงภายใน 30 นาทีและปิดโดยปรับขึ้น 1.35% มีปฏิกิริยาแบบเดียวกันให้เห็นในหุ้นยุโรปที่ขยับไปอยู่ในแดนลบแต่ก็สามารถกลับมาอยู่ในแดนบวกได้ในตอนปิดเซสชั่น

ความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้นน่าจะเป็นกระทิงให้สำหรับดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับเยน  แต่ที่เราเห็นอยู่ในตอนนี้กลับตาลปัตรกันหมด เยนอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 15 เดือนเมื่อเทียบกับดอลลาร์และไม่มีท่าทีว่าจะยอมลงมา นี่แสดงให้เห็นว่านักลงทุนยังมีความกังวลและไม่เต็มใจที่จะทำการเทรดโดยที่ยืมเยนในอัตราดอกเบี้ยต่ำมาเพื่อลงทุนในสกุลเงินที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า

ดอลลาร์ไม่ได้ปรับลดลงเฉพาะกับเยนเท่านั้น แต่ลงในหลายสกุลเงินโดยที่ DXY ร่วง 1.4% จากจุดสูงสุดเมื่อวานนี้ นี่อาจเป็นเรื่องที่อธิบายได้ยากในขณะที่ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยขยายมากขึ้น ดูเหมือนว่าตลาดจะคาดหวังให้ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยแคบลงในอีกสองสามเดือนข้างหน้า เนื่องจากธนาคารกลางอื่นๆ เริ่มต้นดำเนินการกระชับ อย่างไรก็ตาม การพุ่งขึ้นอีกครั้งของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ น่าจะเริ่มช่วยดึงความสนใจมาที่ดอลลาร์ได้บ้างแล้ว

ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ: เนื้อหาในบทความนี้ประกอบด้วยความคิดเห็นส่วนตัวและไม่ควรตีความเป็นคำแนะนำส่วนตัว และ/หรือคำแนะนำด้านการลงทุนอื่น ๆ และ/หรือข้อเสนอ และ/หรือคำชักชวนสำหรับการทำธุรกรรมใด ๆ ในตราสารทางการเงิน และ/หรือการรับประกัน และ/หรือการคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต ForexTime (FXTM) พันธมิตร ตัวแทน กรรมการ เจ้าหน้าที่หรือพนักงานของบริษัทจะไม่รับประกันความเที่ยงตรง ความถูกต้อง ความทันเวลาหรือความสมบูรณ์ของข้อมูลใด ๆ หรือข้อมูลที่พร้อมใช้และถือว่าไม่มีความรับผิดต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการลงทุนใด ๆ ที่อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน